การขยายขอบเขตของจอห์นสัน 2506–12 ของ สงครามเวียดนาม

ประธานาธิบดีเคนเนดีถูกลอบฆ่าในวันที่ 22 พฤศจิกายน 2506 รองประธานาธิบดี ลินดอน บี. จอห์นสัน ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องมากนักกับนโยบายต่อเวียดนาม แต่เมื่อดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีแล้ว จอห์นสันให้ความสนใจกับสงครามทันที วันที่ 24 พฤศจิกายน 2506 เขากล่าวว่า "การยุทธ์ต่อคอมมิวนิสต์ ... จะต้องร่วมกับ ... ความเข้มแข็งและความเด็ดเดี่ยว" จอห์นสันทราบว่าเขารับช่วงสถานการณ์ที่เลวร้ายลงอย่างรวดเร็วในเวียดนามใต้ แต่เขายึดติดกับการให้เหตุผลทฤษฎีโดมิโนที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในการพิทักษ์เวียดนามใต้ คือ หากเวียดนามใต้ถอยหรือจำยอมสละ ไม่ว่าอย่างไรจะทำให้ชาติอื่นนอกเหนือจากความขัดแย้งนี้ตกอยู่ในอันตรายไปด้วย

สภาปฏิวัติกองทัพ ซึ่งประชุมแทนผู้นำเวียดนามใต้ที่เข้มแข็ง ประกอบด้วยสมาชิก 12 นาย สภามีพลเอก เซือง วัน มิญ เป็นผู้นำ ผู้ซึ่งสแตนลีย์ คาร์โนว์ นักหนังสือพิมพ์ภาคสนาม ต่อมาเรียกว่า "แบบอย่างของความเซื่องซึม" ลอดจ์ ซึ่งรู้สึกคับข้องใจเมื่อถึงปลายปี ส่งโทรเลขกลับประเทศเกี่ยวกับมิญว่า "เขาจะเข้มแข็งพอเอาชนะสิ่งต่าง ๆ หรือเปล่า" ระบอบของมิญถูกโค่นในเดือนมกราคม 2507 โดยพลเอก งฺเหวียน คั้ญ (Nguyễn Khánh) ทว่ายังมีความไร้เสถียรภาพอย่างต่อเนื่องในกองทัพ ซึ่งเกิดรัฐประหารหลายครั้งในชั่วเวลาสั้น ๆ แม้ไม่ได้ประสบความสำเร็จเสียทุกครั้ง

ในถ้อยแถลงที่คล้ายกับที่กระทำต่อฝรั่งเศสเกือบสองทศวรรษก่อนหน้านี้ โฮจิมินห์เตือนว่าหากอเมริกัน "ต้องการสงครามเป็นเวลายี่สิบปีแล้วเราจะทำสงครามยี่สิบปี หากพวกเขาต้องการสร้างสันติ เราจะสร้างสันติและเชิญพวกเขามาดื่มน้ำชายามบ่าย" บ้างแย้งว่านโยบายของเวียดนามเหนือคือไม่โค่นรัฐบาลที่ไม่ใช่คอมมิวนิสต์อื่นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ใกล้เคียง

สงครามโลกครั้งที่สอง สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง สงครามเวียดนาม สงครามกลางเมืองอเมริกา สงครามอ่าว สงครามเกาหลี สงครามเย็น สงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สอง สงครามแปซิฟิก สงครามครูเสด

แหล่งที่มา

WikiPedia: สงครามเวียดนาม http://books.google.com.au/books?id=qh5lffww-KsC&l... http://mailman.anu.edu.au/pipermail/hepr-vn/2008-A... http://www.awm.gov.au/encyclopedia/vietnam/statist... http://www.americanhistoryprojects.com/downloads/v... http://www.bmj.com/content/336/7659/1482 http://www.britannica.com/EBchecked/topic/628478/V... http://books.google.com/?id=Inu7AAAAIAAJ&pg=PA179 http://books.google.com/?id=MauWlUjuWNsC&pg=PA4 http://books.google.com/?id=QKgraWbb7yoC&pg=PA520 http://books.google.com/?id=QQ_nS6pTlDgC&pg=PA22